วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

วัดมังกรกมลาวาส(วัดเล่งเน่ยยี่) และวัดไตรมิตร

วัดเล่งเน่ยยี่ หรือ วัดมังกรกมลาวา




วัดมังกรกมลาวาส หรือ วัด เล่งเน่ยยี่ Leng-Noei-Yi Chinese temple เป็นวัดสังกัดจีนนิกาย ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุง ระหว่าง ซอยเจริญกรุง 19 และ 21 ในเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นที่คุ้นเคยในหมู่ชาวไทยเชื้อสายจีน และชาวจีนจากต่างประเทศ
วัดนี้ บางคนเรียกว่า "วัดมังกร" เพราะคำว่า "เล่ง" หรือ "เล้ง" ในภาษาจีนแต้จิ๋ว แปลว่ามังกร (คำว่า เน่ย แปลว่า ดอกบัวและคำว่า ยี่ แปลว่า วัด) ชื่อวัดอย่างเป็นทางการคือ "วัดมังกรกมลาวาส" พระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5
วัดนี้ก่อตั้ง เมื่อปี พ.ศ. 2414 ใช้เวลาก่อสร้าง 8 ปีกว่าจะแล้วเสร็จ มีลักษณะสถาปัตยกรรมเป็นแบบทางจีนตอนใต้ของสกุลช่างแต้จิ๋ว โดยวางแปลนตามแบบวัดหลวง คือ มีวิหารท้าวจตุโลกบาลเป็นวิหารแรก ตรงกลางเป็นพระอุโบสถ ข้างหลังพระอุโบสถเป็นวิหารเทพเจ้า การสร้างใช้ไม้และอิฐเป็นวัสดุสำคัญ จากประตูทางเข้า เข้าไปจะถึงวิหารท้าวจตุโลกบาล จะเห็นเทพเจ้า 4 องค์ (ข้างละ 2 องค์) ในชุดนักรบจีนและถืออาวุธและสิ่งของต่างๆ กัน เช่นพิณ ดาบ ร่ม เจดีย์ คนจีนเรียกว่า เรียกว่า "ซี้ไต๋เทียงอ้วง" หมายถึงเทพเจ้าที่ปกปักษ์รักษา คุ้มครอง ทิศต่างๆ ทั้ง 4 ทิศ ถัดจากวิหารท้าวจตุโลกบาล คือ อุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานของพระประธานของวัด คือ พระศากยมุนีพุทธเจ้า พระอมิตาภพุทธเจ้า พระไภษัชยคุรุพุทธเจ้า ทั้งหมด 3 องค์ คนจีนเรืยก "ซำป้อหุกโจ้ว" พร้อมพระอรหันต์ อีก 18 องค์ หรือคนจีนเรียกว่า "จับโป๊ยหล่อหั่ง"วัดมังกรกมลาวาสนั้นมีการวางผังตามแบบสถาปัตยกรรมจีนพื้นถิ่นทางตอนใต้ของ จีน โดยมีลักษณะแบบสกุลช่างแต้จิ๋วเป็นหลัก การวางผังวัดถือตามแบบวัดพุทธศาสนานิกายมหายาน ตัวอาคารจะวางผังล้อมลาน เรียกว่า ซี่เตี่ยมกิม เป็นแบบเฉพาะของอาคารพื้นถิ่นแต้จิ๋ว ภายในวัดเล่งเน่ยยี่นี้มีพระประธานเป็นพระพุทธรูปสีทองแบบจีน มีวิหารอยู่ด้านหน้า ประดิษฐานรูปท้าวจตุโลกบาลเป็นรูปหล่อเขียนสี แต่งกายแบบนักรบจีน และยังมีรูปปั้นของเทพเจ้าตามความเชื่อในลัทธิเต๋าและเทพเจ้าพื้นเมืองอื่นๆ ของจีน นอกจากนั้นยังมีวิหารอีก 3 หลัง คือวิหารอวโลกิเตศวร ประดิษฐานรูปเจ้าแม่กวนอิม วิหารปฐมบูรพาจารย์ ประดิษฐานรูปเหมือนของพระอาจารย์จีนวังสมาธิวัตร และวิหารสังฆปรินายก ประดิษฐานเซียนหลักโจ้ว ซึ่งเป็นหมู่เทพซึ่งเชื่อกันว่าจะให้ความคุ้มครอง ช่วยในเรื่องสุขภาพ การค้า และความรักได้ด้วย กลุ่มอาคารทั้งหมดประกอบด้วยอิฐและไม้เป็นโครงสร้างสำคัญ โดยเฉพาะโครงสร้างหลังคาอุโบสถและวิหารจตุโลกบาลแสดงโครงสร้าง ขื่อ คาน ตามแบบสกุลช่างแต้จิ๋วอย่างสวยงาม หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาแบบจีนโบราณมีการประดับตกแต่ง อาคารด้วยกระเบื้องตัดเป็นชิ้นเล็กๆประกอบเป็นลวดลายสิริมงคลตาม ความเชื่อแบบจีน มีการวาดลวดลายและแกะสลักลวดลาย ปิดทองอย่างสวยงาม มีการใช้โมเสคติดผนังทั้งหมด จัดว่าเป็นสถาปัตยกรรมจีนโบราณที่มีความสมบูรณ์มากแห่งหนึ่งเลยทีเดียว
พระอุโบสถ เป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน หลังคามุงพระเบื้องลอนประดับลายปูนปั้นรูปสัตว์ และเครือเถา ฝาผนังด้านในเป็นเป็นซุ้มสลักลวดลายงดงาม พระประธานเป็นพระพุทธรูปทองแบบจีน
ด้าน หน้าวิหารประดิษฐานท้าวจตุโลกบาลข้างละ 2 องค์ ด้านข้างเป็นเทพเจ้าตามความเชื่อในลัทธิเต๋า และเทพเจ้าพื้นเมืองของจีน ส่วนด้านหลังมีวิหาร 3 หลัง คือ วิหารอวโลกิเตศวร ประดิษฐานรูปเจ้าแม่กวนอิม วิหารปฐมบูรพาจารย์ ประดิษฐานรูปเหมือนพระอาจารย์จีนวังสสมาธิวัตร และวิหารสังฆปริณายก ประดิษฐานเซียนหลักโจ๊ว ทางด้านขวามีเทพเจ้าต่างๆ หลายองค์ เช่น เทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา คนจีนเรียกว่า "ไท้ส่วย เอี๊ยะ" เทพเจ้าแห่งยาหรือหมอเทวดา "หั่วท้อเซียงซือกง" และที่นิยมไหว้ขอพรมากคือ เทพเจ้าแห่งโชคลาภ "ไฉ่ซิ้งเอี๊ยะ" เทพเจ้าเฮ่งเจีย คนจีนเรียกว่า "ไต่เสี่ยหุกโจ้ว" พระเมตไตรยโพธิสัตว์หรือ "ปู๊กุ่ยหุกโจ้ว"ซึ่งคล้ายกับพระสังกัจจายน์ของคนไทย " กวนอิมผู่สัก" หรือ พระโพธิสัตว์กวนอิม "แป๊ะกง" และ "แป๊ะม่า" รวมเทพเจ้าในวัด จะมีทั้งหมด 58 องค์

ข้อมูลเพิ่มเติม : 140 ปีตำนานวัดเล่งเน่ยยี่
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
วัดไตรมิตร

วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๖๖๑ ทางทิศตะวันตกของสถานีรถไฟหัวลำโพง ถนนเจริญกรุง แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๐๐
        ตราประจำวัด คือ ภาพเทวดา ๓ องค์ นั่งประชุมกันบนบัลลังค์เมฆ พื้นหลังสีดำ ด้านนอกขอบทอง ด้านบนมีพุทธสุภาษิตประจำวัดคือ " อติโรจติ ปญฺญาย สมฺมาสมฺพุทฺธสาวโก " แปลว่า "สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมเจริญรุ่งเรืองด้วยปัญญา" และด้านล่างคือชื่อวัด
 เขตและอุปจารวัด 
        วัดไตรมิตรวิทยารามเดิมมีพื้นที่ราบลุ่ม มีลักษณะน้ำขังได้ทั่วไป ปัจจุบันได้ทำการปรับปรุงพื้นที่ของวัดทั้งหมดเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วทั้งภายในบริเวณวัด และวัดมีเขตอุปจารวัดดังนี้

ทิศเหนือ               จรดกับถนนพระราม ๔
ทิศใต้                    จรดกับถนนตรีมิตร
ทิศตะวันออก       จรดกับซอยสุกร ๑
ทิศตะวันตก         จรดกับถนนเจริญกรุง
ประวัติและนามวัด 
        วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นวัดโบราณสร้างเมื่อสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน เดิมมีชื่อว่า วัดสามจีนใต้ มีคำเล่ากันว่าวัดสามจีน เดิมมีอยู่สามวัด คือ วัดสามจีนอยู่ในคลองบางอ้อด้านตรงข้ามกับเทเวศร์วัดหนึ่ง วัดสามจีนเหนือ บางท่านก็ว่าอยู่ที่บางขุนพรหม บางที่ก็ว่าอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี สำหรับวัดที่อยู่บางขุนพรหม คือ วัดสังเวชวิศยาราม ส่วนที่อยู่จังหวัดนนทบุรี ได้แก่ วัดโชติการาม อำเภอเมืองนนทบุรี และวัดสามจีนใต้ ได้แก่ วัดไตรมิตรวิทยาราม
       เหตุที่เรียกว่าวัดสามจีน ก็เนื่องด้วยเหตุว่ามีชาวจีน ๓ คนได้ช่วยกันก่อสร้างขึ้นมาจึงได้นามว่า “วัดสามจีน
ปูชนียวัตถุ - พระพุทธรูปทองคำ 
       พระพุทธทศทลญาณ พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ปูนปั้น ลงรักปิดทอง ประชาชนทั่วไปเรียกว่า “หลวงพ่อโต” บ้าง “หลวงพ่อวัดสามจีน” มีประชาชนมาบนบานกันเสมอ ๆ ด้วยพวงมาลัยดอกมะลิ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยทรงเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการ และได้ตรัสอกย่องว่า เป็นพระพุทธรูปที่มีพระพุทธลักษณะงดงามยิ่งนัก “หลวงพ่อโม” อดีตเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม เคยได้ทำพระเครื่องแจกครั้งหนึ่ง ได้ทำเป็นรูปพระพุทธทศพลญาณสร้างด้วยเนื้อชิน เรียกชื่อว่า หลวงพ่อโตวัดสามจีน ปรากฏว่าเป็นที่นิยมนับถือของคนทั่งไปว่าศักดิ์สิทธินัก ปัจจุบันนี้หายากแล้ว





แนวคิด


             สำหรับการผู้จัดทำ อยากให้ผู้ที่สนใจได้เห็นถึงวัฒนธรรม รวมไปถึงความเชื่อของคนจีนที่มีต่อการสะเดาะห์เคราะห์ การแก้ปีชง ที่มีมายาวนาน ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีอิทธิพลมาสู่คนไทยที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วย จนทำให้ปัจจุบัน ความเชื่อในการแก้ปีชงนี้ ก็ได้เข้ามาสู่คนไทยด้วยเช่นกัน จนทำให้เกิดปรากฎการณ์ที่มีผู้คนจำนวนมากจากทั่วสารทิศ หลั่งไหลมาที่วัดแห่งนี้ บางคนก็มาเพราะความเชื่อที่ว่าวัดนี้ มีชื่อเสียงในเรื่องการแก้ปีชง การสะเดาะห์เคราะห์ นอกจากในวัดเล่งเน่ยยี่แล้ว ในส่วนของวัดไตรมิตรก็ยังแสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรม และศิลปะ ที่สวยงามของพระพุทธรูปทองคำ ที่ใหญ่ที่สุดในโลกอีกด้วย


แหล่งข้อมูลอ้างอิง
 ข้อมูลเพิ่มเติม

บทวิเคราะห์


ในการไปทำการลงพื้นที่ หาข้อมูลที่ย่านเยาวราช ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าส่วนใหญ่แล้ว ประชากรจะมีเชื้อสายจีน ในพื้นที่นั้นก็จะมีขนบธรรมเนียม มีประเพณีที่เกี่ยวข้องกับชาวจีน แต่ก็มีประชากรที่มีเชื้อสายคนไทย นับถือศาสนาพุทธ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าในพื้นที่ของเยาวราช จะมีสถานที่สำคัญทางศาสนาทั้งที่เป็นวัดจีน และวัดไทย โดยวัดที่มีชื่อเสียงที่เป็นวัดจีนในย่านนั้น คือ วัดมังกรกมลาวาส(วัดเล่งเน่ยยี่) เป็นวัดที่ขึ้นชื่อ โด่งดังในเรื่องของการแก้ปีชง ที่เป็นความเชื่อของคนเรามานาน โดยตัวกระผม ได้เข้าไปหาข้อมูล ได้ไปสอบถามวิธีการแก้ปีชง ก็จะมีกระดาษให้เขียนชื่อ นามสกุล เขียนปีเกิดตามปีนักสัตว์ เวลาเกิด พร้อมนำธูปสามดอก และแผ่นทอง ไปไว้เทพเจ้า "ไท้ส่วย เอี๊ยะ" ซึ่งเชื่อว่าเป็นเทพเจ้าคุ้มครองดวงชะตา เมื่อจุดธูปเสร็จ อธิษฐานขอพรให้คุ้มครองตัวเราเสร็จแล้ว ก็จะนำธูปไป ปักที่กระถางแล้วนำชุดไหว้มาปัดที่ตัว 12 ครั้ง เปรียบเสมือนปัดสิ่งไม่ดีออกไปจากตัว เราจะเห็นได้ว่าจริงๆแล้วการแก้ปีชงนั้นเป็นความเชื่อของคนจีน แต่ในปัจจุบัน ไม่ได้จำกัดอยู่ในเฉพาะคนจีนเท่านั้น คนไทย ที่นับถือพระพุทธศาสนาก็นิยมไปแก้ปีชงเหมือนกัน ซึ่งอาจเป็นไปได้เพราะ ค่านิยม ของคนทั่วไป อาจจะมาจากการบอกเล่า บอกกันปากต่อปาก และก็ไม่ได้เป็นเรื่องที่เสียหายอะไร จึงทำให้ในปัจจุบันมีผู้คนหลั่งไหลเข้ามาที่วัดมังกรกมลาวาส หรือ วัดเล่งเน่ยยี่เป็นจำนวนมาก

              ส่วนอีกวัดหนึ่งซึ่งเป็นวัดไทย คือ วัดไตรมิตร ซึ่งมีพระพุทธรูปที่สำคัญคือ พระสุโขทัยไตรมิตร สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นสมัยสุโขทัย เป็นพระพุทธรูป ปางมารวิชัย ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองคำที่องค์ใหญ่ที่สุดในโลกจนได้รับการบันทึกในหนังสือ "กินเนสบุ๊ค" ในส่วนนี้ก็แสดงให้เห็นถึงในสมัยก่อนความยิ่งใหญ่ ความศรัทธาของมนุษย์ที่มีต่อพระพุทธศาสนา มีมากเพียงใด และยังแสดงออกถึงศิลปะ ความประณีตในการสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ขึ้นมา

 สิ่งต่างๆที่ได้กล่าวไปนั้น จะเห็นได้ว่าล้วนแต่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ เกี่ยวกับนิเวศวิทยาซึ่งเป็นส่วนของสิ่งแวดล้อมที่ไม่มีชีวิต เป็นประเพณี ความเชื่อในการแก้ปีชง การสะเดาะห์เคราะห์ เรื่องของศิลปะ การนับถือ ศรัทธา การเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา

สรุป

  อิทธิพล หรือความเชื่อต่างๆนั้น หากมีค่านิยมของคนส่วนใหญ่ ก็จะกลายเป็นที่ยอมรับ ดังจะเห็นได้จากความเชื่อในการแก้ปีชง การสะเดาะเคราะห์ ที่ปัจจุบันมีอิทธิพล กับคนทั่วไป ทุกเชื้อชาติ ไม่เว้นกระทั่งคนไทยที่นับถือพุทธก็ตาม ซึ่งเป็นพื้นฐานนิสัยของคนไทย ที่เน้นค่านิยม ใครนิยมอะไร ก็เอาอย่างเขาไปหมดนั่นเอง

ผู้จัดทำ นนร.นนทิชัย    จุ้ยเจริญ ชั้นปีที่ 2 กองวิชา สศ.1 เลขที่ 11  รร.จปร.






        












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น